👩⚕️คุณพ่อคุณแม่ คงเคยผ่านประสบการณ์ Time out กันมาบ้าง
….ซึ่งมักจะได้ผลในช่วงแรก แล้ว ก็ หนักกว่าเดิมมันเพราะ อะไรกันนะคะ ….
….วันนี้ เรามาเรียนรู้เรื่อง Time out ในแบบที่ถูกต้องเหมาะสม และ เลือกว่าพฤติกรรมแบบไหนของลูก เราจะทำ Time out กันนะคะ
🌈Time out คือ การแยกเด็กออกมาจากเหตุการณ์ที่กระตุ้นเด็กที่ทำให้เด็กมีอารมณ์พีค และก่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำให้เด็กได้มีเวลาสงบ ทบทวนตัวเอง ในมุมสงบ ถึงเหตุการณ์ที่ได้กระทำลงไป (มันคือ การนั่งเงียบๆสงบสติอารมณ์เหมือนผู้ใหญ่แหละคร่า)
✔️ก่อนทำ Time out ต้องซักซ้อมเด็กก่อน และตกลงกันก่อนว่า พฤติกรรมก่อกวน หรือ พฤติกรรมอะไรที่เค้าจะต้องถูก time out ขั้นตอนการทำและบอกลูกว่าทำเพื่อให้เค้าสงบสติอารมณ์ อารมณ์ดีแล้วค่อยคุยกัน นานเท่าไหร่บอกเด็กด้วยค่ะ (หลักการคร่าวๆ 1 นาที / 1 ปี เช่น น้อง 3 ขวบ ไม่เกิน 3 นาที แต่อาจจะน้อยกว่านี้ก็ได้ค่ะ )
.
✔️อายุที่เหมาะสม คือ 3 ปีขึ้นไป (เด็กกว่านี้ใช้วิธีอื่นนะคะ เช่น เบี่ยงเบนความสนใจ)
.
✔️พฤติกรรม ที่ควรทำ Time out เช่น ร้องดิ้นอาละวาด ,โวยวาย,การทำร้ายคนอื่น,ทำลายข้าวของ (พวกเด็กที่ Energy มาเต็ม)
.
✔️สถานที่ ให้เป็นมุมสงบ เพื่อให้เด็กได้นั่งควบคุมอารมณ์ โดยพ่อแม่ยังสามารถแอบมองปฏิกิริยา และความปลอดภัยลูกได้อยู่ (แต่ไม่ต้องไปจ้องมอง แบบจะกินหัวกันนะคะ ต้องเพิกเฉยเหมือนไม่สนใจ แต่แอบมอง)
.
✖️สถานที่ที่ทำ time out ไม่ควรมีของเล่นหรือสิ่งที่เด็กชอบ
.
✖️ไม่ใช่การขังเด็กไว้นะคะ (แบบนี้ ไม่ใช่ Time out )
.
✔️หลังทำ time out เสร็จควรชมลูก ว่าลูกทำพฤติกรรมดี นิ่งได้ดี แล้วกอดเค้า (พ่อแม่อย่าอารมณ์ค้างเพราะเด็กเค้าหายแล้ว)
.
✔️หลังกอดกันแล้ว ควรพูดคุยทบทวนกันถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นว่าทำไมถึงถูกทำ Time out พร้อมทั้งสะท้อนความรู้สึกของลูก และ ซักถามทางแก้ปัญหาของลูกในคราวต่อไป ( แอบเสนอก็ได้ แต่อย่าบังคับลูก)
⭐️ไม่ควรใช้ Time out พร่ำเพรื่อในการจัดการทุกพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เพราะ มันคือเวทีใหญ่ เหมือนมวยระดับโลก …ใช้บ่อยๆ ไม่ได้ผลแน่ๆ
🌈การทำ Time out แบบไม่ถูกเทคนิก
ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กอย่างไร ?
…..Time out สำหรับเด็กเล็กแล้วสิ่งที่เค้าเข้าใจคือการทำโทษ เพียงแต่ไม่ใช่การทำโทษโดยการใช้กำลัง แต่เป็นการทำโทษที่
😰เด็กรู้สึกถูกทอดทิ้งทางอารมณ์ เด็กส่วนมากไม่ชอบ รู้สึกเครียด
.
😰มีความรู้สึกอายเพื่อน เมื่อเวลาถูกพาไป time out ต่อหน้าเพื่อน
.
😰การทำ Time out จะหยุด พฤติกรรมเชิงลบ ได้แค่ชั่วคราว และ บางคนอาจแย่ขึ้นเนื่องจาก เด็กรู้สึกว่าเค้าไม่ได้รับความสนใจ ไม่ได้รับความรัก จึงทำให้เค้ายิ่งทำพฤติกรรมที่ไม่ดีมากขึ้น
.
😰ทำให้เด็กรู้สึกว่าเค้าเป็นคนไม่ดี เพราะการทำ time out โดยการทิ้งเด็กและไม่สนใจในการจัดการอารมณ์ของเด็กร่วมด้วย เท่ากับเป็นการยืนยันว่า ใช่หนูทำไม่ดี แม่ถึงไม่สนใจและ หนูต้องถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว
.
😰Time out ไม่ได้ช่วยให้เด็กควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น เพราะ การ time out โดยการยิ่งทอดทิ้งหรือไม่สนใจเด็ก อาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่เรียกร้องรุนแรงมากขึ้น
.
😰Time out โดยการทิ้งเด็ก ในที่สุดการที่เด็กสงบจากสิ่งที่เข้าใจว่าคือการ time out คือ เด็กสงบจากความรู้สึกกลัวรู้สึกถูกทอดทิ้งและรู้สึกว่าไม่ได้รับความรัก
.
😰 Time out ที่เกิดขึ้นโดยการบังคับขู่เข็ญ ดึงหรือฉุดกระชากเด็กเพื่อให้ไปยังบริเวณ time out ทำให้เกิดปัญหาสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง เด็กจะเกิดความโกรธแทนที่จะเกิดการเรียนรู้ ระหว่างที่นั่งสงบอารมณ์
👩⚕️ดังนั้นก่อนที่เราจะลงโทษลูกด้วยวิธีการใดๆ ต้องศึกษา วิธีการทำและเทคนิกที่ถูกต้องเหมาะสมให้ดีเสียก่อน ไม่เช่นนั้น การลงโทษจะมีแต่ลบ กับ ลบ
…..และก่อนลงโทษลูก ควรถาม ตัวเองทุกครั้งก่อนว่า วันนี้เรามีเวลาคุณภาพกับลูกแล้วหรือยัง ชมลูกหรือยัง กอดลูกหรือยัง
#อย่าลืมว่าบ้านไม่ใช่ค่ายทหารนะจ้ะ
#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว