fbpx

BLW (Baby Led Weaning)ช่วยให้ลูกกินได้มากขึ้นหรือเปล่า ?

อาหารตามวัยตามหลักการแพทย์(traditional weaning ) ที่แนะนำ คือ อาหารบดละเอียดที่อายุ 6 เดือน และบดหยาบขึ้นเรื่อยๆ จนเด็กสามารถกินอาหารลักษณะคล้ายผู้ใหญ่ได้(แบบไม่ปรุง)ที่อายุ 1 ปี และเริ่มให้เด็กลองคว้าจับกินอาหาร Finger food (หั่นเป็นแท่ง) ที่อายุประมาณ 8-9 เดือน ตามพัฒนาการของเด็ก

👉ใครอยากทำอาหารตามวัยแบบ Traditional weaning ให้ลูก ดูตามคลิปนี้จ้า https://youtu.be/VEmGYcd0OJc

ส่วน BLW อ่านต่อด้านล่างจร้า
กระแสช่วงนี้ แม่บางท่านจะได้ยินคำว่า ให้ลูกกินแบบ BLW
หมอเลย จะมาเล่าให้ฟังเรื่อง BLW กัน

🔶Baby Led Weaning (BLW) คืออะไร?
คือการปล่อยให้ลูกกินอาหารเองแบบไม่ต้องปั่นไม่ต้องป้อน ลูกเป็นคนกำหนดเอง ว่ากินอะไร เมื่อไหร่ และยังไง ชอบกินอะไรก็หยิบเข้าปาก ไม่ชอบกินอะไรก็ไม่หยิบ หิวก็กิน อิ่มก็หยุดกิน
🍄อาหารลักษณะ ของ BLW คือ อาหารสุกนิ่ม ขนาดพอเหมาะที่ลูกจะหยิบจับได้ (finger food) เช่น บรอคโคลี่นึ่งสุก มะม่วง
🍄BLW เริ่มกิน อาหารครบห้าหมู่ 3 มื้อ
#ตั้งแต่แรก โดยกินพร้อมกันทั้งครอบครัว ผู้ใหญ่กินให้ดูเป็นตัวอย่าง เพื่อให้ลูกสามารถเลียนแบบพฤติกรรมการกิน
👍👍👍ข้อดี
✅เปิดโอกาสให้ลูกได้สำรวจสัมผัสอาหารทุกอย่างเอง เหมือนเป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสลูก ตามองอาหาร มือจับ จมูกดม ลิ้นรับรส เป็น
การเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารที่กำลังกิน และการทำความรู้จักกับโลกใบนี้
✅การฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก คือ มือและตา ต้องทำงานประสานกันได้ดี จึงจะทำให้อาหาร ไม่ให้หกหล่น
✅เพิ่มความภูมิใจในตัวเองของลูก เมื่อลูกสามารถเอาอาหารเข้าปาก แถมได้รางวัลเป็นของอร่อยแทบจะทันทีที่อาหารเข้าปาก
✅พัฒนาทักษะการกินตามธรรมชาติ ตั้งแต่การเรียนรู้ texture อาหารแต่ละแบบ จะหยิบจับอาหารแต่ละชนิดขึ้นมาได้อย่างไร จะเอาอาหารเข้าปากได้อย่างไร กัดอย่างไร จัดการอาหารในปากอย่างไรให้เคี้ยวได้ แล้วจะส่งอาหารนั้นกลืนลงไปในหลอดอาหารได้อย่างไร ถ้าหากกัดอาหารชิ้นใหญ่ไป กลืนไม่ได้ จะจัดการยังไง จะขย้อนอาหารออกมาได้ยังไง
✅ได้กินข้าวร่วมกันทั้งครอบครัว โดยไม่ต้องมานั่งป้อนอาหารลูก
✅ลูกจะกำหนดปริมาณอาหารที่กินเอง รวมถึงปริมาณนมที่ลดลงเอง
✅สามารถฝึกวินัยการกิน
✅ลูกกินอาหารง่ายขึ้น เพราะไม่มีการบังคับ ปล่อยให้ลูกได้บรรเลงอย่างอิสระ ลูกก็บันเทิงไป แม้มันจะดูเละเทะหน่อยๆ 😂😂
👎🏻👎🏻👎🏻ข้อด้อย
👉มันอาจจะดูเลอะเทอะมาก! ลูกจับอาหารปาทั่วบ้าน ทิ้งจานชามลงกับพื้น เสื้อผ้าเปื้อนหมด แต่อย่าลืม ว่า #ยิ่งเลอะยิ่งเยอะประสบการณ์😂
🤔แล้วให้ลูกเริ่มให้ลูกกินอาหารแบบ BLW ได้เมื่อไหร่
👉อาหารมื้อแรกของเด็ก คือ ประมาณ6 เดือนหรือไม่น้อยกว่า 17 สัปดาห์ สัญญาณที่เราจะรู้ว่าลูกเริ่มอยากกินแล้วคือ เด็กจะมีความสนใจในอาหารที่คุณพ่อคุณแม่กิน เริ่มมอง เริ่มพยายามเอื้อมหยิบ พยายามขอกิน
👉 และที่สำคัญลูกต้องสามารถ #นั่งได้แล้วเพื่อกันการสำลักค่ะ (สามารถขอคำแนะนำ จาก กุมารแพทย์ที่ดูแลน้องได้ค่ะ )
❗️ก่อนตัดสินใจ เริ่ม ให้ลูกกิน แบบ BLW พ่อแม่ต้อง ‘เตรียมตัวตัวเอง ‘ #ก่อนลูก นะคะ
👉พ่อแม่ควรรู้เกี่ยวกับอาหารทั้ง 5 หมู่ ที่เหมาะสมสำหรับทารก
👉พ่อแม่ต้องศึกษาเรื่องการหั่นการเตรียมการเสิร์ฟอาหารแต่ละชนิดให้ปลอดภัย เลี่ยงอาหารในรูปแบบที่เป็น choking hazard
👉ถ้าเป็นครอบครัวใหญ่ ควรคุยกับผู้ใหญ่ในครอบครัวให้เข้าใจ บางบ้านย่ายายแทบจะเป็นลมเมื่อเห็นหลานกินแบบ BLW 🤣เป็นห่วงสุขภาพย่ายาย
👉พ่อแม่ควร ทำความเข้าใจความแตกต่างของ choking กับ gagging
👉choking คืออาหารติดคอ หายใจไม่ออก #อันตราย #ถึงแก่ชีวิตได้
👉gagging คือปฏิกิริยาของร่างกายที่ดันเอาอาหารที่ชิ้นใหญ่เกินไปกลืนไม่ได้ออกมา (ดังนั้นเวลากินข้าวลูกควรนั่งหลังตรง มองไปข้างหน้าได้แล้วนะคะ เพื่อที่อาหารที่โดนgagออกมาจะได้ หล่นออกมาได้) ช่วงเริ่มBLWแรกๆ จะเห็นว่าลูก gagบ่อยมาก เพราะเค้ากำลังเรียนรู้
👉gagging ลูกยัง #ส่งเสียงได้ ไม่ว่าจะอ้อกๆ แอ้กๆ โอ้กๆ อ้ากๆ แล้วหน้าแดง นั่นคือลูกกำลัง gag ลูกโอเคอยู่
❗️แต่ถ้าลูก#ไม่ส่งเสียงเลย แถมหน้าซีดหน้าเขียว นั่นคืออาหารติดคอลูก ลูกหายใจไม่ออก
นั่นคือ ลูกกำลังสำลักอาหาร (choking )
👩‍⚕️พ่อแม่ต้องเรียนรู้วิธีการช่วยชีวิต ตามวิดีโอนี้ ค่ะ https://youtu.be/gHZdBY-CkGw
❗️ถ้าคิดว่า ไม่สามารถ ช่วยชีวิตลูกได้ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน แนะนำอย่าเพิ่งเริ่ม อาหารแบบ BLW
⭐️การจะเริ่ม อาหารให้ลูก วิธีไหน
ขึ้นอยู่กับ ความพร้อมของทั้งลูกและคนเลี้ยง
บางบ้านอยากให้ลูกกินแบบ BLW แล้วไม่ได้เลี้ยงเอง เป็นพี่เลี้ยงต่างชาติหรือผู้สูงอายุ
ก็ #อย่าเสี่ยง เลยค่ะ
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้การเลี้ยงลูกมีความสุข คือ ทางสายกลาง….เอาที่เราสะดวกเนอะ ❤️
❤️อาหารเด็ก ควรครบห้าหมู่
ไม่ต้องเลี่ยงอาหารใดๆถ้าไม่มีประวัติแพ้
ไม่ต้องเทสอาหาร
❤️เพราะเด็กๆ คือ หัวใจของเรา
#HappyBaby #HappyFamily
#Bambini #BabyWellnessCenter
#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์
🙏ขอขอบคุณข้อมูลรายละเอียดบางส่วน
จากเพจ Baby -Led Weaning Thailand