fbpx

3 ขวบปีแรก….ช่วงเวลาทอง ในการเลี้ยงลูกเลย เพราะ เป็นช่วงที่ลูกพัฒนาสมองมากที่สุด และ เป็นวัยแห่งการสร้างตัวตน
🌸ขวบปีแรก …. ลูกน่ารัก ตะมุิ ตะมิ กินๆ นอนๆ
ยิ้มหวานน่ารัก ไม่กรี๊ดไม่โวยวาย
…..พัฒนาการ ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ จากนอนเฉยๆ ก็
คลาน> นั่ง >ยืน >เดิน ได้ ในขวบปีแรก มันน่าจดจำมากๆ
….ด้านการช่วยเหลือตัวเอง เริ่ม หยิบจับ ของเข้าปากได้ ช่วง 9-10 เดือน แต่ แม่ก็ต้องดูแลป้อนข้าวอยู่
….ด้านภาษา ….ถ้าบ้านไหน งดจอ เน้นเล่นพูดคุย อ่านนิทาน …เด็ก จะพูดได้เร็ว บ้านเราพูดได้คำแรก ว่า หม่ำ ๆ ตอนประมาณ 8-9 เดือน พอ 1 ขวบ พูดหลายคำมากๆ จดไม่ทัน 😂
🌸 2 ขวบ … ตอนนี้ ลูกเดินเก่ง วิ่ง คล่อง พูดเก่งมาก พูดได้เป็นประโยคแล้ว …ตอนนี้ ช่วยเหลือ ตัวเอง ได้มาก ถอดรองเท้า ถอดกางเกง แต่งตัวเอง กินข้าวเอง (เลอะหน่อย)
….จุดพีค ของวัยนี้ คือ วัยทอง เริ่ม แสดงความชอบไม่ชอบ มีร้องไห้ เวลาไม่ได้ ดั่งใจบ้าง อารมณ์แปรปรวนแม้เรื่องเล็ก ๆ เช่น ใส่ชุดไม่สวย
….บ้านเรารับมือ กับ ช่วงเวลานี้ ด้วยความ เอ็นดู และ เมตตาลูก
คิด แค่ ว่า เค้า แค่ 2 ขวบ ….เมื่อลูกร้องไห้ โวยวาย เราอยู่ด้วย รอเค้าสงบ ค่อยพูดอธิบายเหตุผล
…..จนกระทั่ง ตอนนี้ ลูก 3 ขวบ !!!
ลูกเป็นคนมีเหตุผลมากกกกกกก ถาม ทำไม อะไร เพราะอะไร จน ตอบไม่ทัน
🌸3 ขวบ …. เป็นวัยที่ลูกกลายเป็น #เพื่อนเราได้แล้ว ไปไหน ทำอะไร เข้าใจทุกสถานการณ์
จาก 2 ขวบปีแรก ที่ร้องบ้าง เวลานั่ง car seat นานๆ
พอ 3 ขวบ ลูกก็ไม่ร้อง นั่งมองข้างทาง ไม่ต้องหา ของเล่น เอนเตอร์เทนลูกแล้วด้วย
…ทับทิม นอกจากพูดเป็น ประโยค ทั้งภาษาไทย และ อังกฤษ ได้แล้ว ยัง เข้าใจ เรื่องเหตุผลได้ดี
เข้าใจว่า อะไร ดี หรือ ไม่ดี
แต่!!!!! บางที ก็ กวนนนน แกล้งทำ
เหมือนว่า ลองทำดูหน่อย แม่จะ แปลงร่างยักษ์มั้ย
ถ้าห้ามบางทีจะทำ
เริ่มมี ต่อรอง
และ เริ่มมีเหตุผลของตัวเอง
….ที่เป็น แบบนี้ เพราะ ลูกเรากำลังสร้างตัวตน สร้างนิสัย และ จดจำแบบอย่างการกระทำในสิ่งที่เค้าเห็น
….สรุป ว่า เลี้ยงลูก 3 ขวบปีแรก
เหนื่อยมาก แต่แลกมาด้วย ความสุขมากกว่า
แม่อย่างเรา มีความสุขมากๆ ที่ได้เห็นพัฒนาการลูกในทุกขั้นตอน …
เราเรียน หมอเด็กเฉพาะทางมา จนตอนนี้ 10 กว่าปีแล้ว
ได้มาเลี้ยงลูกเอง ….บางเรื่อง ก็ไม่มีในตำราแพทย์ นะ
สรุปว่า …ทับทิม เป็นครูอีกคนนึงของแม่เลย
❤️รักนะคะ
มะเหมี่ยว …หมอเด็ก / แม่น้องทับทิม

คลินิกเด็กพัทยา Bambini Baby Wellnes ชลบุรี ศรีราชา

child Development, Occupational therapy, Speech therapy, Delay speech, ADHD, utism