fbpx

อยากให้ลูก เป็นเด็กปรับตัวง่าย กับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆหรือสถานที่ใหม่ ทนกับกิจกรรมที่ต้องเลอะได้ ไม่เรื่องเยอะ มีความยืดหยุ่น….
เริ่มต้นง่ายๆ เลย #ที่บ้าน เราลองมาจัดให้ลูกเล่น แบบ
Sensory Play กัน ….
การเล่น แบบ sensory play ทำให้เด็ก
มีโอกาสเรียนรู้สิ่งรอบตัวผ่านกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นรับสัมผัส ยิ่งการที่เด็กได้ เล่น สำรวจ จับ เคลื่อนไหว ทดสอบ ทดลองสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว #อย่างอิสระ
#ไม่จำกัด ….
เพราะ การได้เล่นเยอะๆ ยิ่งดีต่อ #พัฒนาการและสมอง
การเรียนรู้จาก #ประสาทสัมผัส
จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของเด็กทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญาภาษา สังคมและอารมณ์
ในเด็กบางคนมี #ภาวะไวต่อการรับสัมผัส (tactile defensiveness) ซึ่งจะส่งผลต่อความไวในการรับรู้ผ่านระบบสัมผัส ทั้งต่อพื้นผิว (texture) อุณหภูมิ (temperature) และการสัมผัสอื่นๆ (tactile experiences)
…..ในสถานการณ์เหล่านี้เด็กมักจะตอบสนองโดยการ #หลีกหนี #หวาดกลัว ซึ่งอาจรบกวนกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กได้
🌸ประโยชน์ ของ การเล่นแบบ Sensory play
✅ช่วยให้มี #พัฒนาการทางสมองที่ดี
ตอนที่เด็ก กำลังใช้มือและ ตาสัมผัส และ สำรวจสิ่งใหม่ๆ เหล่านั้น …ทำให้เซลล์ประสาทสมอง มีการเชื่อมต่อกันมากขึ้น
✅ช่วยพัฒนา #กล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก
การเปิดโอกาสให้เด็ก ได้ทำในสิ่งใหม่ ๆ ใช้ กล้ามเนื้อวิ่ง กระโดด ปีนป่าย สัมผัสรูปร่างและ รูปทรงต่างๆ …ทำให้ทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่และเล็ก ได้ทำงาน
✅ทำให้ มี #พัฒนาการทางภาษาที่ดี
เด็กจะได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากกิจกรรมที่เราจัดให้ ทำให้เด็กได้สัมผัสประสบการ์ณใหม่ๆ ได้ เช่น เราจัดธีมหิมะให้ลูกเราเล่น ลูกจะได้ลองสัมผัสกับความรู้สึกเวลาจับหิมะและเรียนรู้ชื่อสัตว์ต่างๆที่อยู่ในแถบหนาว
ตั้งแต่ขวบกว่า นอกจากของเล่นที่แม่หมอจัดให้ลูกเล่นแล้ว …แม่ยังจัด sensory play ธีมต่างๆ
ให้ลูกเล่นเสมอๆ …ทำไปทำมา…เลย จัด play group Bambini Baby Wellness คลินิกเด็ก คลินิกนมแม่ คาเฟ่เด็ก ศูนย์พัฒนาการเด็ก
ให้เด็ก ๆ คนอื่น มาเล่นกับทับทิมด้วย
คราวนี้ ม่วนใจ ฟินใจมาก …นอกจากลูกเราเล่นสนุกแล้ว เด็กๆคนอื่นก็ได้สนุกด้วย …
บ้านไหน ไม่รู้ว่า จะเริ่มต้นยังไง …เล่นทราย เล่นดิน เล่นโคลน เล่นใบไม้ เล่นต้นไม้ ก็ได้เหมือนกันคร่า
❤️มะเหมี่ยวเอง
หมอเด็ก / แม่น้องทับทิม

คลินิกเด็กพัทยา Bambini Baby Wellnes ชลบุรี ศรีราชา

child Development, Occupational therapy, Speech therapy, Delay speech, ADHD, utism