ศัตรูตัวร้าย สำหรับปอดลูก!!! …ตอนนี้ เริ่มระบาดอีกแล้ว คือเชื้อไวรัส RSV ซึ่งมักระบาดในช่วงหน้าฝนต้นหนาว ช่วงเดือน กรกฎาคม-พฤศจิกายน
เมื่อลูกเราติดเชื้อ RSV
มีอาการได้ตั้งแต่ #หวัด ไข้ ไอ จาม น้ำมูก จนกระทั่ง #ปอดอักเสบ และอาจอันตรายถึงชีวิตได้
เชื้อไวรัส RSV มี 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ A และ B ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยครั้งแรกอาจไม่สามารถป้องกันได้…เป็นแล้ว สามารถเป็นอีกได้
เชื้อไวรัส RSV แพร่กระจายได้ง่ายมากๆ ลูกเราจึงติดเชื้อได้ง่าย
👉ผ่านละอองเสมหะในอากาศ เช่น เวลามีผู้ติดเชื้อจามหรือไออยู่ในบริเวณใกล้เคียง
👉ผ่านการสัมผัสโดยตรง เช่น เวลาจับมือกับผู้ที่มีเชื้อ แล้ว เด็กนำเข้าสู่ร่างกาย ทางจมูกหรือปาก
👉ผ่านการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่
เช่น เวลาที่เด็กสัมผัสสิ่งของหรือของเล่นที่มีเชื้อโรคปะปนแล้วเอาเข้าปาก
👿เชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ได้หลายชั่วโมงบน #วัตถุที่เป็นของแข็ง เช่น ลูกบิดประตู พื้นโต๊ะเคาน์เตอร์ คอกเตียง และของเล่น และสามารถอยู่ได้นานกว่าบนพื้นผิววัสดุอ่อนนุ่ม เช่น มือ หรือกระดาษชำระ
😷ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่ถ้าติดเชื้อไวรัส RSV แล้วอาจทำให้เกิดอาการรุนแรง ได้แก่
*เด็ก 0-2 ปี เนื่องจาก ภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอ
* ทารกคลอดก่อนกำหนด (ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์)
* เด็กเล็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือโรคปอดเรื้อรัง
* เด็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น เด็กที่ได้รับเคมีบำบัดหรือได้รับการปลูกถ่ายกระดูก
* ผู้สูงอายุ
* ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหอบหืด มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
* ผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ที่เป็นโรคลิวคิเมียหรือผู้ติดเชื้อ HIV หรือเอดส์
👶🏻วิธีป้องกัน ไวรัส RSV
1.กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกป่วยควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการไอจามแพร่เชื้อให้กับผู้คนที่อยู่รอบข้าง
2.หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและสถานที่ที่มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้หวัด
3.ไม่ใช้ของใช้ เช่น แก้วน้ำจานชาม ร่วมกับผู้อื่น 4.ทำความสะอาดของเล่นอยู่เสมอ
💊 การรักษา RSV ในปัจจุบันยัง #ไม่มียารักษาโรคนี้โดยเฉพาะ โดยทั่วไปการรักษาจะเป็นไปตามอาการที่ป่วย รวมถึงการดูแลเรื่องการหายใจและเสมหะ เช่น ให้ยาแก้ไอละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม ยาลดไข้ หรือพ่นยา ตามแต่อาการของผู้ป่วย
.
ในผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อย หายใจไม่ค่อยดี และเริ่มมีออกซิเจนในเลือดต่ำลง การรักษาจะเป็นในรูปแบบประคับประคอง เช่น ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ให้ยาพ่นขยายหลอดลม เคาะปอด ดูดเสมหะ รวมถึงให้ออกซิเจน
.
ส่วนในรายที่มีอาการหนักมาก อาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยให้การดูแลในหอพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติจนกว่าอาการจะดีขึ้น
ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค RSV >> มีตั้งแต่ ค่ายาที่รักษาตามอาการ และหากอาการหนักอาจจะต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ทำให้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงได้
#ด้วยรักและห่วงใย #TH-18754 #ปอดจิ๋วปลอดภัยห่างไกลRSV #ProtectTinyLungs