ไม่มีเด็กคนไหน อยากเกิดมาดื้อ หรือ ไม่เป็นที่พอใจของคนรอบข้าง เด็กทุกคนต้องการคำชมและความรัก (เหมือนผู้ใหญ่ ทุกคนนั่นแหละ )
จากที่หมอเจอเด็กๆในห้องตรวจ ที่พ่อแม่มักบ่นว่า #ลูกดื้อ! แต่ส่วนใหญ่ เมื่อถามรายละเอียดดู หมอพบว่า ปัญหาเด็กดื้อ …..อาจจะเป็นเพราะ
‘ความคาดหวังที่พ่อแม่ มีกับเด็กมากเกินไป‘
‘มากเกินความสามารถ’
‘มากเกินพัฒนาการตามวัยที่เค้ามี ‘
ยกตัวอย่าง เช่น
เด็ก 2-3 ปี เล่นด้วยกัน แล้วไม่แบ่งของกันเล่น : นั่นคือ #ปกติ เพราะ เด็กเค้าคิดว่าของนั้นเป็นของเค้า ทำไมเค้าต้องแบ่ง ด้วย และเด็กวัยนี้ก็ชอบที่จะเล่นคนเดียวมากกว่า
ตามอ่านเรื่อง ฝึกลูกให้แบ่งปันได้ลิงค์นี้ค่ะ https://www.facebook.com/334548503939610/posts/691422281585562/?extid=y5ReyVEVawZAr49U&d=n
เด็ก 1-3 ปี (วัยทองสองขวบ) การที่ลูกกรี๊ดอาละวาด เวลาไม่ได้ดั่งใจ นั่นก็คือ #ปกติ พฤติกรรมปกติที่สามารถพบได้ตามช่วงวัย ซึ่ง การรับมือก็แล้วแต่ ว่าแต่ละบ้านจะเลือกแบบไหนมาสยบเจ้าตัวน้อย
ตามอ่านเรื่อง เทคนิคพิชิตลูกดื้อ ได้ตามนี้ https://www.facebook.com/334548503939610/posts/623649825029475/?extid=K6N5E2z0Nbsx1U46&d=n
กติกา 3 ข้อ ที่ควรมีทุกบ้าน คือ
ห้ามทำร้ายตนเอง
ห้ามทำร้ายคนอื่น
ห้ามทำลายข้าวของ
ถ้ามีพฤติกรรมเหล่านี้ ต้องหยุดพฤติกรรมดังกล่าวทันที รายละเอียดตามอ่าน https://www.facebook.com/334548503939610/posts/594116494649475/?d=n
นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า เมื่อเด็กดื้อ เราต้องถามตัวเองก่อนว่า พ่อแม่ดื้อมั้ย เราดื้อเองหรือเปล่า? พ่อแม่ทำอะไรให้ลูกดูบ้าง หรือ วัยนี้เค้าควรจะเป็นแบบไหน
เราควรเลี้ยงดูเค้ายังไงให้เค้าแสดงศักยภาพและความสามารถที่เค้ามีออกมามากกว่า
หมอมั่นใจค่ะ ว่า ทุกบ้านอยากให้ลูกเป็นเด็กน่ารัก เลี้ยงง่าย ว่านอนสอนง่าย เรียนหนังสือเก่ง เล่นกีฬาเก่ง พูดได้หลายภาษา ….หลากหลายความต้องการ ….บลาบลา
เทคนิคเลี้ยงลูกให้ได้ดี แค่เข้าใจลูก ว่า เค้าควรทำอะไรได้บ้างในวัยนี้
เมื่อเราเจอพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูก ควรปรัปด้วยวิธียังไง ….เช่น เบี่ยงเบนความสนใจ ,Time out ,ignore(เพิกเฉย)
และส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี ให้อยู่นานๆ ได้ยังไง เช่น ชมพฤติกรรมที่ดี บอกรัก กอดลูก ให้รางวัลบางโอกาส
สำคัญที่สุด ไม่ควรคาดหวังในตัวลูกมากเกินไป สำรวจตัวเราเองก่อนสำรวจลูก เพราะ ลูกมักจะเป็นกระจกสะท้อนพ่อแม่
วิธีการเลี้ยงลูกให้มี’ความสุข ‘ ให้แต่ข้าวอย่างเดียวไม่ได้นะคะ ต้องให้ใจและความรักแบบเหมาะสม
ด้วยหลักการ 3R และ 4D ตามนี้เลยคร่า
.
หลักการ. 3R
Relation ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดี คือ ให้ความรักแบบไม่สปอย โอบกอด บอกรัก ให้เวลากับลูกบ้าง อย่ามัวแต่ทำงาน (แค่เล่นกับลูก คุยกับลูก เล่านิทานกับลูก ก็พอ)
Rule กติกาที่ดี ไม่ใช่แบบเหมือนอยู่ค่ายกักกัน ข้อตกลงร่วมกันกับลูกว่า พฤติกรรมแบบไหน คือพฤติกรรมดีและไม่ดี
(พฤติกรรมไม่ดี ที่ควรตกลงกันทุกบ้าน คือ ไม่ทำร้ายตัวเอง ไม่ทำร้ายผู้อื่น และไม่ทำลายข้าวของ) ….แต่ อย่าสร้างกฎเยอะ จนเด็กไม่กล้าทำอะไรเลย
Relation ดี+Rule ดี= เด็กดี (resilient child)
เด็กดี ; ในความหมายของแต่ละคนไม่เท่ากันแน่นอน เนื่องจาก พื้นอารมณ์ของเด็กแต่ละคนจะต่างกัน จากธรรมชาติ (easy child , difficult child และ slow to warm up) ดังนั้นควร #มองลูกในแบบที่ลูกเป็น ไม่เปรียบเทียบ! #แฝดยังนิสัยไม่เหมือนกันเลยค่ะ
หลัก 4D (เป็นเทคนิคที่ช่วยทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดี ) ได้แก่
‘คิดดี พูดดี ฟังดี และทำดี ‘
คิดดี คือ คิดหาและมองหา ข้อดีของลูก พฤติกรรมที่ดี/พฤติกรรมเชิงบวก เราควรส่งเสริม ชมเยอะๆ
ฟังดี ก่อนจะพูดสอนลูก พ่อแม่ควรเป็นผู้ฟังที่ดีให้เป็นก่อน เมื่อลูกมีปัญหา อย่าตัดสิน! เราแค่ ฟังแล้วสะท้อนอารมณ์ เด็กมีสิทธิที่จะรู้สึกโกรธ/ไม่พอใจ/เสียใจ …ทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงความรู้สึก รวมทั้งเราด้วย
…..อารมณ์ไม่ใช่ปัญหา แต่วิธีการจัดการกับอารมณ์ คือปัญหาเนื่องจาก สมองของเด็กยังไม่พัฒนามากพอที่จะจัดการ และควบคุมอารมณ์ให้ดีในทุกสถานการณ์ …….ผู้ใหญ่บางคนยังจัดการไม่ได้เลยเนอะ
พูดดี คือ #เน้นคำพูดเชิงบวก #พ่อแม่มีวาจาสิทธิ #ไม่มีชมแล้วเหลิงแน่นอนค่ะ
ควรชมลูกตามความสามารถ เน้น!ไม่ต้องเว่อร์มาก เอาแค่ความจริง (ไม่ใช่ว่ากินข้าวเองได้คือเก่งที่สุดในโลก,ไม่มีใครเก่งเท่านี้)
…..เทคนิค ‘คำชม’คือ I message
( แม่ +ความรู้สึกบวก ต่อ….พฤติกรรมบวก ของลูก )
……เช่น แม่ภูมิใจที่ลูกตั้งใจทำการบ้านให้เสร็จก่อน 2 ทุ่ม (พ่อแม่มีวาจาสิทธิ ยิ่งชมลูก ลูกยิ่งดีตามปากพ่อแม่)
เหตุผล ต้องอ่าน! ว่า ทำไมควรพูดดีๆ กับลูก https://www.facebook.com/334548503939610/posts/567805363947255/
ทำดี คือ ลูกทำดีมา เราทำดีตอบลูก เช่น กอดลูก แสดงความรักด้วยภาษากายให้รางวัล ตามโอกาส #เน้นไม่สปอย #เน้นไม่ติดสินบน #เน้นไม่ต่อรอง
….พูด กอด บอกรัก เสมอๆ ……
ระวัง การลงโทษ !!! ที่ไม่เหมาะ เช่น ตี ดุด่า ประจาน จะทำให้ลูก เสีย Self Esteem
การใช้ความรุนแรงกับลูก จะทำให้ลูกใช้ความรุนแรงกับพ่อแม่ด้วย
#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์