เมื่อลูกงี่เง่าเอาแต่ใจ พ่อแม่อย่างเราจะจัดการยังไง??
ตีเด็กได้มั้ย???
ไม่แนะนำ ให้ ดุด่า หรือ ตี เพราะจะหยุดพฤติกรรม ดังกล่าวได้ ชั่วคราวเท่านั้น !!! ….ระยะยาว คือ ลูกจะซึมซับพฤติกรรม ที่พ่อแม่ทำ กับ เค้า ตีมาตีกลับ ด่ามาด่ากลับ ไม่โกง

เทคนิค ที่ จะจัดการเวลาลูกเอาแต่ใจ อาละวาด มีทั้ง
#การเบี่ยงเบนความสนใจ ที่ใช้กับเด็กเล็ก ยังไม่เข้าใจภาษา ….มักได้ผลแล้ว
#ไทม์เอาท์ ใช้เฉพาะ ตอนลูกอารมณ์อาละวาดมากๆ แบบบ้านจะแตก ….คือ จัดพื้นที่ให้ลูกสงบ สติอารมณ์ ไม่ใช่ขังลูก หรือ ทอดทิ้งลูก !! เน้น บอกลูก หนูสงบแล้วเรามากอดกันนะคะ แม่รออยู่
#เทคนิคเพิกเฉย …… ไม่ใช่ เฉยๆ นิ่ง มันมีรายละเอียด ตามด้านล่างคร่า ((เทคนิคนี้ ทำยาก แต่ ถ้าทำได้แล้ว ไม่เสียพลังงาน และ บรรยากาศทั้งเราและลูกค่ะ )))

เทคนิคการเพิกเฉยขณะที่ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ เป็นการ #เปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้การควบคุมตนเอง ไม่ใช่การทอดทิ้งลูก และเป็นโอกาสให้พ่อแม่เองได้สงบสติอารมณ์ตนเองด้วยเช่นกัน
…….การพยายามโอ๋ลูก ที่เราอาจเคยทำกันมานั้น ไม่ช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง และยังส่งผลเสียต่อพ่อแม่ เพราะเด็กจะมองไม่เห็นความชัดเจนของกติกาในบ้านหรือความเป็นผู้นำในตัวพ่อแม่




-ถ้าลูกยังไม่สงบกรี๊ดแต่พยายามเข้ามาให้กอดหรือให้อุ้ม พ่อแม่ควรลุกขึ้นยืนและหันไปทำอย่างอื่นแทน (แต่อย่ามีท่าทีทอดทิ้งลูกไป ต้องเป็นท่าทีว่าเรามีงานอื่นที่ต้องทำ )
-หากพ่อแม่เผลอ หรือหวั่นไหว ลูกจะจับไต๋ได้ ให้รีบเอาตัวเองออกจากตรงนั้นด้วยการทำงานง่ายๆ ใกล้ตัวแทน เช่น พับผ้า ล้างจาน

……ให้หยุดเพิกเฉยชั่วคราว!! และหันกลับไปจับมือลูกแน่นๆ ประมาณ 10 วินาที และมองหน้าลูกพร้อมพูดด้วยเสียงเรียบนิ่งว่า “ไม่ตีแม่/ไม่โยนของ” แล้วแกะของออกจากมือ จากนั้นปล่อยมือลูกและเฝ้าดูอีกสักครู่ หากลูกลุกขึ้นมาตีหรือโยนของอีกให้ทำซ้ำแบบเดิมจนกว่าลูกจะหยุด แล้วให้กลับไปเพิกเฉยต่อ

* “ชม” ให้ชมลูกแบบ #บรรยายพฤติกรรม เช่น “หนูเงียบแล้ว หนูเก่งค่ะลูก”
* “คุย” ถามลูกว่า “เมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น” เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกได้ทบทวนเรื่องราวด้วยตัวเองก่อน ซึ่งจะช่วยให้ลูกเข้าใจตัวเองได้ดีกว่าการรอคำสอนอย่างเดียว และยังเป็นการกระตุ้นความฉลาดด้านการเข้าใจตนเองของลูกไปด้วยในตัว

……ไม่แนะนำให้เป็นสิ่งของ เพราะเด็กอาจเชื่อมโยงว่าหยุดร้องไห้แล้วจะได้ของ

ช่วงเริ่มทำเทคนิคเพิกเฉยในครั้งแรก การร้องไห้จะรุนแรงขึ้นและยาวนานกว่าปกติที่ลูกเคยงอแง
แต่ไม่ต้องตกใจ เข้าใจผิด คิดว่าคุณพ่อคุณแม่ทำอะไรที่ไม่ถูกต้องหรือเปล่า เพราะลูกรู้สึกได้ว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ง่ายเหมือนเดิม จึงแสดงอาการมากขึ้นเพื่อเรียกร้องให้เรากลับไปตอบสนองเขาแบบเดิม ขอให้อดทนไว้ก่อน อย่าใจอ่อนง่ายๆ เพราะครั้งต่อๆ ไป อาการของเขาจะเบาลงเรื่อยๆ
“จงอย่ากลัวที่จะทำเพิกเฉยเมื่อลูกร้องไห้เอาแต่ใจ แต่จงกลัวที่จะเป็นยักษ์กับลูก เพราะการเพิกเฉยไม่ทิ้งผลข้างเคียงอะไรไว้กับลูก แต่หากตอบสนองลูกด้วยอารมณ์โกรธ ตวาด หรือดุลูกด้วยความรุนแรงก้าวร้าว ลูกจะรับความก้าวร้าวรุนแรงไว้ในหัวใจแบบเต็มๆ การเลี้ยงลูกที่มีภาวะดื้อและต่อต้านเป็นงานที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่เด็กก็จะสามารถดีขึ้นได้ หากได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมจากคนในครอบครัว ขอให้คุณพ่อคุณแม่ค้นให้พบและปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดู อีกไม่นานเขาก็จะกลับมาเป็นเด็กดีให้คุณพ่อคุณแม่ได้ชื่นใจอย่างแน่นอน”




ถ้ามีพฤติกรรมเหล่านี้ ต้องหยุดพฤติกรรมดังกล่าวทันที รายละเอียดตามอ่าน https://www.facebook.com/334548503939610/posts/594116494649475/?d=n
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก
https://www.samitivejhospitals.com/th/เทคนิคปราบลูกดื้อ/
โดยแพทย์หญิงเสาวภา พรจินดารักษ์

❤️เพราะเด็ก ๆคือหัวใจของเรา
#Bambini #BabyWellness
❤️ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์
#Bambini #BabyWellness