วัยทองสองขวบ หรือ Terrible two คือ พัฒนาการปกติตามวัย พบได้ในเด็กอายุ 18-30 เดือน
เนื่องจากสมองเด็ก 6 ขวบปีแรก สมองซีกขวาทำงานเด่นกว่า คือ #สมองทำงานด้านอารมณ์เด่นกว่าด้านเหตุผลด้วย😁😁
👼🏻เด็ก2-3 ปี : วัยนี้ เริ่มเข้าใจภาษามากขึ้น พูดได้มากขึ้น แต่ยังไม่ทั้งหมด ร่างกายแข็งแรงทำได้ทั้ง วิ่ง กระโดด แต่ ก็ยังมีขีดจำกัดอยู่ ลูกคิดว่า ชั้นทำได้ทุกอย่างแล้ว อยากทำทุกอย่างด้วยตัวเอง แต่ความเป็นจริงมันไม่สามารถทำได้เองหมด เลยมีอาการหงุดหงิดกรี๊ดอาละวาดเกิดขึ้น
👼🏻อาการ #วัยทองสองขวบ
👉กรี๊ดอาละวาด เอาแต่ใจ
👉ดื้อต่อต้าน บอกซ้ายไปขวา ยิ่งห้ามยิ่งทำ
👉อารมณ์แปรปรวน อยู่ดีๆ ก็ร้องไห้/กรี๊ด /หงุดหงิด แบบไม่มีสาเหตุ
พ่อแม่ควรรับมือด้วย #ความเข้าใจ #ใจเย็น
……..สำคัญที่สุด ‘ ไม่ควรพูดคำว่า #ห้าม #อย่า #ไม่ เพราะลูกจะยิ่งต่อต้าน พยายาม ค่อยๆบอกให้เค้าทำด้วยคำพูดเชิงบวก
🌈สิ่งที่ควรทำทุกวัน เพื่อ #ลดอาการวัยทอง
1.เข้าใจลูก และพัฒนาการตามวัย ไม่เปรียบเทียบลูกกับคนอื่น เนื่องจากเด็กแต่ละคนต่างกัน
2.พาลูกปล่อยพลัง 1-3 ชั่วโมง/วัน เพราะเด็กวันนี้ พลังงานเหลือเฟือ
3.สอนลูกสื่อสารความต้องการ /ความรู้สึก #ด้วยคำพูดแทนการใช้อารมณ์
4.มีเวลาคุณภาพกับลูกมากๆ เช่น เล่นด้วยกัน อ่านนิทานด้วยกัน ร้องเพลงด้วยกัน
5.เล่นบทบาทสมมติ /ซ้อมสถานการณ์ ที่ลูกมักกรี๊ดตอนลูกอารมณ์ดี เช่น ซ้อมก่อนไปห้างว่า ถ้ากรี๊ดคือกลับบ้าน
🌈เมื่อลูกกรี๊ด
👉พ่อแม่ตั้งสติ เย็นเข้าไว้ นับ 1-1000 ไปเลย การที่ลูกอาละวาดแล้วพ่อแม่ปรี๊ดตามไปด้วย จะยิ่งเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมให้รุนแรงขึ้นไปอีก
👉ไม่ใช้ความรุนแรงทางกาย คือ ตี เพราะ อาจจะทำให้ลูกก้าวร้าวได้
👉ไม่ใช้ความรุนแรงทางวาจา คือ ขู่ลูก/ แหย่ เช่น แม่จะไม่รัก แบบนี้เป็นเด็กไม่ดีเลย ….เพราะอาจจะทำให้ลูกเสีย Self esteem
👉เบี่ยงเบนความสนใจ
👉time out ก่อนจะทำ time out ต้องถามตัวเองเสมอ ว่า มีเวลาคุณภาพ กับลูกพอหรือยัง
👉เพิกเฉย ….เทคนิคนี้ จะได้ผลดีมากก็ต่อเมื่อ พ่อแม่มีสายสัมพันธ์ที่ดีและมีเวลาคุณภาพกับลูกเพียงพอ …
👉ชมลูกทุกครั้ง และทันที #เมื่อลูกควบคุมอารมณ์ได้ดี
⭐️ #เทคนิคเพิกเฉย
เทคนิคการเพิกเฉยขณะที่ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ เป็นการ #เปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้การควบคุมตนเอง ไม่ใช่การทอดทิ้งลูก และเป็นโอกาสให้พ่อแม่เองได้สงบสติอารมณ์ตนเองด้วยเช่นกัน
…….การพยายามโอ๋ลูก ที่เราอาจเคยทำกันมานั้น ไม่ช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง และยังส่งผลเสียต่อพ่อแม่ เพราะเด็กจะมองไม่เห็นความชัดเจนของกติกาในบ้านหรือความเป็นผู้นำในตัวพ่อแม่
👩⚕️มาเริ่ม ฝึก #เทคนิคเพิกเฉย นี้กันเลย
✔️ขั้นที่ 1 #สงบสติอารมณ์ เริ่มจากตัวพ่อแม่เอง ต้องอารมณ์นิ่งก่อน (เทคนิคนี้ห้ามทำตอนเรามีอารมณ์ เพราะจะกลายเป็นเราทอดทิ้งลูก)
✔️ขั้นที่ 2 #มองหน้าลูก และพูดด้วยเสียงนิ่ง สีหน้าเรียบอย่างจริงจัง “แม่จะรอหนูเงียบ เราถึงจะคุยกัน” ( Kind but firm)
✔️ขั้นที่ 3 #เพิกเฉยลูก ทั้งคำพูด ท่าที สายตา ไม่พูดซ้ำว่าลูกวนไปมา
-ถ้าลูกยังไม่สงบกรี๊ดแต่พยายามเข้ามาให้กอดหรือให้อุ้ม พ่อแม่ควรลุกขึ้นยืนและหันไปทำอย่างอื่นแทน (แต่อย่ามีท่าทีทอดทิ้งลูกไป ต้องเป็นท่าทีว่าเรามีงานอื่นที่ต้องทำ )
-หากพ่อแม่เผลอ หรือหวั่นไหว ลูกจะจับไต๋ได้ ให้รีบเอาตัวเองออกจากตรงนั้นด้วยการทำงานง่ายๆ ใกล้ตัวแทน เช่น พับผ้า ล้างจาน
❗️กรณีที่ลูก #ทำร้ายตัวเองหรือ #ทำร้ายคนอื่น #ทำลายข้าวของ
……ให้หยุดเพิกเฉยชั่วคราว!! และหันกลับไปจับมือลูกแน่นๆ ประมาณ 10 วินาที และมองหน้าลูกพร้อมพูดด้วยเสียงเรียบนิ่งว่า “ไม่ตีแม่/ไม่โยนของ” แล้วแกะของออกจากมือ จากนั้นปล่อยมือลูกและเฝ้าดูอีกสักครู่ หากลูกลุกขึ้นมาตีหรือโยนของอีกให้ทำซ้ำแบบเดิมจนกว่าลูกจะหยุด แล้วให้กลับไปเพิกเฉยต่อ
✔️ขั้นที่ 4 #กลับไปหาลูก เมื่อลูกสงบ เพื่อแสดงให้ลูกเห็นว่า ลูกจะได้รับความสนใจก็เมื่อมีพฤติกรรมที่ดี เงียบ และจะถูกเพิกเฉยเมื่อมีพฤติกรรมร้องไห้เอาแต่ใจ โดยควรพูดกับลูกดังนี้
* “ชม” ให้ชมลูกแบบ #บรรยายพฤติกรรม เช่น “หนูเงียบแล้ว หนูเก่งค่ะลูก”
* “คุย” ถามลูกว่า “เมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น” เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกได้ทบทวนเรื่องราวด้วยตัวเองก่อน ซึ่งจะช่วยให้ลูกเข้าใจตัวเองได้ดีกว่าการรอคำสอนอย่างเดียว และยังเป็นการกระตุ้นความฉลาดด้านการเข้าใจตนเองของลูกไปด้วยในตัว
✔️ขั้นที่ 5 #ตบบวก เสริมแรงพฤติกรรมดี ด้วยการหากิจกรรมที่ลูกชอบ เช่น เล่านิทานให้ฟัง เล่นด้วยกัน เพื่อบอกให้ลูกรู้ว่า เค้าสงบได้ดีจึงได้ทำกิจกรรมที่ชอบ
……ไม่แนะนำให้เป็นสิ่งของ เพราะเด็กอาจเชื่อมโยงว่าหยุดร้องไห้แล้วจะได้ของ
📌อดทนไว้ก่อน
ช่วงเริ่มทำเทคนิคเพิกเฉยในครั้งแรก การร้องไห้จะรุนแรงขึ้นและยาวนานกว่าปกติที่ลูกเคยงอแง
แต่ไม่ต้องตกใจ เข้าใจผิด คิดว่าคุณพ่อคุณแม่ทำอะไรที่ไม่ถูกต้องหรือเปล่า เพราะลูกรู้สึกได้ว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ง่ายเหมือนเดิม จึงแสดงอาการมากขึ้นเพื่อเรียกร้องให้เรากลับไปตอบสนองเขาแบบเดิม ขอให้อดทนไว้ก่อน อย่าใจอ่อนง่ายๆ เพราะครั้งต่อๆ ไป อาการของเขาจะเบาลงเรื่อยๆ
“จงอย่ากลัวที่จะทำเพิกเฉยเมื่อลูกร้องไห้เอาแต่ใจ แต่จงกลัวที่จะเป็นยักษ์กับลูก เพราะการเพิกเฉยไม่ทิ้งผลข้างเคียงอะไรไว้กับลูก แต่หากตอบสนองลูกด้วยอารมณ์โกรธ ตวาด หรือดุลูกด้วยความรุนแรงก้าวร้าว ลูกจะรับความก้าวร้าวรุนแรงไว้ในหัวใจแบบเต็มๆ การเลี้ยงลูกที่มีภาวะดื้อและต่อต้านเป็นงานที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่เด็กก็จะสามารถดีขึ้นได้ หากได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมจากคนในครอบครัว ขอให้คุณพ่อคุณแม่ค้นให้พบและปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดู อีกไม่นานเขาก็จะกลับมาเป็นเด็กดีให้คุณพ่อคุณแม่ได้ชื่นใจอย่างแน่นอน”
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก
https://www.samitivejhospitals.com/th/เทคนิคปราบลูกดื้อ/
โดยแพทย์หญิงเสาวภา พรจินดารักษ์
⭐️กฎเหล็ก สำคัญที่สุด ก่อนรับมือ กับอารมณ์ของลูก ต้องรับมือกับอารมณ์ตัวเองให้ได้ก่อนนะคะ บรัยยย์
#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์
#Bambini #BabyWellness
#คลินิกเด็ก