อันตราย #เมื่อลูกขาดธาตุเหล็ก
👉รีวิว ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กให้ลูก
🤔ทำไมต้องกลัวลูกขาดธาตุเหล็กด้วย?
#เพราะถ้าขาดธาตุเหล็ก #ไอคิวต่ำลง 12.5 จุดเลย
🌈ผลการสำรวจ พบว่า เด็กไทยอายุ 6 เดือน – 12 ปี พ.ศ. 2553 – 2555 มีภาวะโลหิตจางสูงในเขตชนบท ร้อยละ 41.7
ในเขตเมือง ร้อยละ 26
🌈การขาดธาตุเหล็กนั้น มีผลต่อสมองและพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะเด็ก อายุ 2 ขวบปีแรก เนื่องจาก เป็น ช่วงที่สมองมีการเจริญเติบโตอย่างมาก ซึ่ง ผลกระทบจากการขาดธาตุเหล็กต่อสมองและพัฒนการนั้นขึ้นอยู่กับ
#ระยะเวลาที่ขาด และ #จำนวนของธาตุเหล็กที่ขาด
👩⚕️เด็กวัยเรียน ที่มีภาวะ ขาดธาตุเหล็ก
จะมี #ไอคิวต่ำกว่า เด็กไม่ขาดธาตุเหล็ก ถึง 12.5 จุด
👩⚕️และ การรักษาด้วยธาตุเหล็กจะ #ไม่ทำให้พัฒนาการและสติปัญญากลับมาปกติ #จึงควรเสริมธาตุเหล็กด้วยอาหารและยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก (ป้องกันไว้ก่อนสายค่ะ )
👩⚕️นอกจาก การขาดธาตุเหล็กมีผลต่อไอคิวเด็กแล้ว ยังมีอาการซีด อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ มือ เท้าเย็น เล็บเปราะ ลิ้นเลี่ยน/อักเสบ เจ็บลิ้น เบื่ออาหาร เลี้ยงไม่โต ผมร่วง ภูมิต้านทานต่ำ พัฒนาการช้า เฉื่อยชา ไม่มีสมาธิ
👶🏻เด็ก 6 เดือนขึ้นไป กรณีทานนมแม่อย่างเดียว มีโอกาสขาดธาตุเหล็กได้ เนื่องจากน้ำนมแม่หลัง 6 เดือน จะมีธาตุเหล็กลดลง เด็กตั้งแต่ 6 เดือน จึงควรได้รับอาหารตามวัยที่ครบ 5 หมู่ และควรเป็นอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
(ใครงง เรื่องอาหารตามวัย ติดตามในคลิปนะคะ https://youtu.be/VEmGYcd0OJc)
(ไม่ต้องหลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มเสี่ยง
ไม่ต้องเทสอาหาร ถ้าไม่มีประวัติแพ้ นะคะ )
🌈ตามเกณฑ์เด็กไทย ควรเจาะตรวจเลือดคัดกรองความเสี่ยงการขาดธาตุเหล็ก
✔️ ช่วงอายุ 6-12 เดือน 1 ครั้ง
✔️ช่วง 3-6 ปี อีก 1 ครั้ง
🔥ค่าเลือด ตัวไหน ที่บอกว่าลูกซีด คือ
ฮีโมโกลบิน (Hb) หรือ
ฮีมาโตคริต (Hematocrit) จร้า
👶🏻วัย 6 เดือน -5 ปี ใช้เกณฑ์
ฮีโมโกลบิน(กรัม/เดซิลิตร) น้อยกว่า 11
และ ฮีมาโตคริต (%) น้อยกว่า 33
🧒วัย 5 ปี-11 ปี ใช้เกณฑ์
ฮีโมโกลบิน(กรัม/เดซิลิตร) น้อยกว่า 11.5
และ ฮีมาโตคริต (%) น้อยกว่า 34
👩⚕️การตรวจกรองเรื่องการขาดธาตุเหล็ก
จะพิจารณาประวัติอาหารว่ามีปัจจัยเสี่ยงขาดธาตุเหล็กหรือไม่ + ถ้าการตรวจเลือดคัดกรองพบว่าซีด (ตามเกณฑ์ข้างบน)
✔️หมอจะให้รับประทานยาน้ำเสริมธาตุเหล็กในขนาด 4-6 มก./ก.ก./ วัน (therapeutic trial of iron) เป็นเวลา 1 เดือนแล้วเจาะเลือดตรวจระดับ Hb ถ้าเพิ่มขึ้น 1 กรัม/ดล. หรือ Hct เพิ่มขึ้น 3%
แปลว่า #ขาดธาตุเหล็ก จะต้องให้ธาตุเหล็กต่อไปอีก 2 เดือน
❗️แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับ Hb หรือ Hct ให้
👉ตรวจหาสาเหตุอื่นๆของภาวะซีด ได้แก่ ตรวจ hemoglobin typing เพื่อวินิจฉัย
#ธาลัสซีเมีย เนื่องจากมีอุบัติการณ์ของผู้ที่เป็น #พาหะธาลัสซีเมีย สูงถึงร้อยละ30 และเป็น #โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ร้อยละ 1
🌈สำหรับ #ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก เพื่อ #ป้องกัน ภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กนะคะ
( ถ้าเป็นโรคโลหิตจาง จะรับประทาน ตามแพทย์สั่ง เท่านั้น นะคะ ) ตอนนี้รัฐบาลรณรงค์ให้รับทุกคนนะคะ
👶🏻เด็กคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ให้เริ่ม ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก 12.5 มิลลิกรัม วันละครั้ง ตั้งแต่ อายุ 2 เดือน ขึ้นไป
👶🏻เด็กอายุ 6 เดือน -2 ปี ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก 25 มิลลิกรัม สัปดาห์ละครั้ง
👶🏻เด็ก 2-5 ปี ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก 50 มิลลิกรัม สัปดาห์ละครั้ง
👶🏻เด็ก 5-12 ปี ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัม สัปดาห์ละครั้ง
👩⚕️ยาในท้องตลาด ตอนนี้ หมอ ขอ พูดถึง ตามรูป ที่หมอ ถ่ายมาให้ ดู นะคะ
(รายละเอียด รสชาติ ผลข้างเคียง กดดูใต้รูป ของตัวยาได้เลยค่ะ )
✔️Ferrous Fumarate ( Ferdex drops) (45 mg/0.6ml)
✔️iron hydroxide polymaltose complex (Eurofer-iron ) (50 mg/5ml)
✔️Nutroplex Oligo ตัวนี้จะเป็นวิตามินรวมที่มีธาตุเหล็กด้วย (มีธาตุเหล็ก 10mg/5ml)
👩⚕️การเลือก รับประทานยาธาตุเหล็กตัวไหน แนะนำ ให้ กุมารแพทย์ เป็นคนช่วยดูและจะดีที่สุดนะคะ 🥰 ที่วันนี้ หมอมารีวิว แต่ละแบบให้ดู จะได้ไม่ท้อถอย เวลาลูกกินแบบ ที่ไม่อร่อยแล้วบ้วนทิ้ง หรือไม่ยอมอ้าปากกินเลย
เพราะตอนนี้ ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กเค้ามีแบบอร่อยแล้วน้า ❤️
🌈คำแนะนําการรับประทาน #อาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก
✔️รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงที่อยู่รูปองค์ประกอบของฮีม ซึ่งมีมาก #ในเนื้อสัตว ,#เลือด ,#ตับ เครื่องในไก่
✔️ถ้าเด็กกินแต่ไข่แดง ควรรับประทานอาหารที่ #มีวิตามินซี (เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว) ร่วมด้วย จะทําให้การดูดซึมธาตุเหล็กใน ไข่แดงได้มากขึ้น
✔️ควรรับประทานผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มี #รสเปรี้ยว 🥝เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตเหล็กได้มากขึ้น (ได้วิตามินซี)
✔️ควรรับประทานอาหารที่มี #วิตามินเอสูง ซึ่งพบมากในตับ ไข่ ฟักทอง แครอท มะละกอสุกและมะม่วงสุก เนื่องจาก
การรับประทานอาหารที่มี วิตามินเอสูง ร่วมกับอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก ช่วยทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีม ได้ดีขึ้น
❌ไม่ควรดื่มนํ้าชา กาแฟ พร้อมอาหาร หรือหลังรับประทานอาหาร จะทําให้การดูดซึมธาตุเหล็กที่ไม่ใช้ฮีมลดลง
❌ไม่ควรดื่ม นมวัว หรือ นมถั่วเหลือง พร้อมอาหาร หรือพร้อมยาเสริมธาตุเหล็ก เพราะแคลเซียมในนมวัวและไฟเตทในนมถั่วเหลืองจะทําให้การดูดซึมธาตุเหล็กจากยาลดลง
#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
พญ.สุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์
อ้างอิง คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก http://doh.hpc.go.th/data/mch/IDAControl.pdf
และ กรมอนามัย สำนักโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข
Ferrous Fumarate
👉 ใช้สำหรับรักษาและป้องกันโรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก
👉ใช้ได้ตั้งแต่ วัยทารก
👎🏻รสชาติไม่ดี กินยาก
👎🏻อาจระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ไม่สบายท้อง ปวดท้อง อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย
👎🏻อาจทำให้ฟันดำ (teeth staining)
👎🏻 อาจทำให้อุจจาระมีสีดำได้
👉ควรกินเมื่อท้องว่าง 1 ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมงหลังอาหาร เพราะเมื่อกินพร้อมอาหารหรือนม ธาตุเหล็กจะถูกดูดซึมลดลง
❌ไม่ให้กินร่วมกับยาลดกรดและน้ำชาเพราะจะทำให้ธาตุเหล็กถูกดูดซึมลดลงเช่นกัน
❗️ข้อควรระวัง ต้องเก็บยาธาตุเหล็กในที่มิดชิด ปลอดภัย ไม่ให้เด็กหรือลูกเข้าถึงและหยิบกินยาเองได้
❗️การกินยาธาตุเหล็ก ต้องกินตามเวลาและขนาดที่แพทย์แนะนำ
❌ห้ามกินเกินขนาดโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรงจนอาจมีเลือดออกได้
🔥และถ้ากินปริมาณมากกว่าที่แพทย์สั่งหลายเท่าจะเป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้หมดสติ โคม่า ชัก ความดันต่ำ ช็อค ตับวาย ตาและตัวเหลือง เลือดออก ไตวายและเสียชีวิตได้