fbpx

เมื่อมื้อแรกมาถึง …..ตื่นเต้นมาก
….นอกจากจะตื่นเต้น เรื่องการทำอาหารอะไรให้ลูกกินดี ยังต้องมาตื่นเต้นว่า ลูกจะอ้าปากกินมั้ยด้วย ….
👩‍⚕️วันนี้ หมอมะเหมี่ยว มาเล่าให้ฟังนะคะ ว่า
จะทำยังไงดี เพื่อ ไม่ให้ลูกกินยาก
(แม่/พ่อลูกอ่อน ต้องอ่านนะจร้า)
✅วางแผนให้ดีตั้งแต่ มื้อแรก
บางบ้าน เริ่มต้นด้วยอาหารหอมหวาน เช่น กล้วยบด ฟักทองบด อาหารผงสำเร็จรูป อาจจะทำให้เด็กติดรสหวาน
…….พอ เราทำอาหารครบห้าหมู่ ที่ ต้องใส่เนื่อสัตว์ แล้วมีกลิ่นคาวเด็กบางคนอาจจะไม่ชอบและปฏิเสธอาหาร ได้ ….คือ ติดรสชาติหวานไปแล้ว
👩‍⚕️หมอฝากดู คลิป อาหารมื้อแรกกินอะไรดี ตามนี้ค่ะ https://youtu.be/VEmGYcd0OJc
✅ควรให้ลูกเริ่มรับประทานอาหารมื้อแรกแบบครบห้าหมู่ ได้ ตั้งแต่ 17 สัปดาห์ ขึ้นไป โดยดูจากความพร้อมของลูกคือ คอแข็งนั่งตรง
กล้ามเนื้อมือตาประสานกันดี (ตามมองอาหาร มืออยากคว้าจับอาหาร) และสามารถกลืนอาหารได้ …..
👉แนะนำ ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลน้องก่อนเริ่ม อาหารได้นะคะ
✅เมื่อพัฒนาการลูกดีขึ้น ช่วง 8-9 เดือน
ที่ลูกอยากใช้มือคว้าจับอาหาร ให้โอกาสลูกได้ ลองคว้าจับทานเอง (Finger food )…นั่งป้อนให้ลูกตลอด เด็กบางคนอาจเบื่อ
✅เด็กวัย 9-12 เดือน จะมีกล้ามเนื้อมัดเล็กที่แข็งแรงดีแล้ว สามารถ ใช้นิ้วมือหยิบจับอาหารกินเองได้ การที่เรา #ไม่ให้ลูกหยิบกินเอง
#ป้อนลูกตลอด เพราะเรากลัวเลอะเทอะ นั่นอาจจะทำให้ลูกรู้สึกว่า กิจกรรมกินข้าวนี้
เค้าไม่ได้ใช้ความสามารถที่เค้ามีเลย อาจจะเกิดอาการ #เบื่ออาหารได้ (ต่างจากช่วง 6-7 เดือน ที่เพิ่งเริ่มกิน ช่วงนั้น ป้อนแล้วหายวับๆ นึกว่าแม่ทำอาหารอร่อยมาก555)
✅เด็กวัย 1-2 ปี #วัยแห่งการลอกเลียนแบบ
เพราะฉนั้น เด็กจะทำให้ เราเห็น เหมือนที่เราทำให้เค้าดู แค่คุณพ่อคุณแม่นั่งทานข้าวพร้อมกับลูก กินให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง ชมลูกเมื่อเค้าพยายามที่จะกิน แค่นี้ #เรื่องกินก็เป็นเรื่องง่ายแล้วค่ะ เพราะว่าเด็กสนุก #เด็กสนุกคือเด็กมีความสุขค่ะ
✅อาจพบอุปสรรค เวลาลูกมีฟันขึ้นจะงอแงหน่อย ก็ช่วยนวดเหงือกลูก/ให้ใช้ยางกัด/ หรือ ให้กัดของเย็นๆผลไม้เย็นๆ ก็พอช่วยลูกให้หายเจ็บฟันได้
…หรือ พ่อแม่ทำเมนูเดิมๆ ให้กินซ้ำๆ เด็กจำได้ เด็กก็อาจจะเบื่อได้ พ่อแม่จำเป็นต้องพัฒนาฝีมือในการเป็นเชพรังสรรค์อาหารลูกให้หน้าตาดีหน่อยน้า
👉ปัญหาที่มักพบว่า ทำให้เด็กกินยาก
❌ไม่หิว
❌ไม่ชอบรสชาติ
❌ไม่เริ่มอาหารตามวัย…
❌ไม่เคยฝึกวินัยการกินที่ดี
❌ไม่หิว ; เด็กกินแต่นมตลอด ….ก็ อิ่มสิจ๊ะ บางคน 1 ขวบ กินแต่นม ทุก 3 ชั่วโมง!! ….แบบนี้ ไม่ได้นะคะ
หรือ บางบ้าน #ไม่ได้งดมื้อดึก กินมาทั้งคืน ตอนเช้าจะหิวได้ยังไง ?
……ใครยังไม่เลิกมื้อดึก ตามอ่านเทคนิคเลิกมื้อดึก ตามนี้ค่ะ https://www.facebook.com/334548503939610/posts/653000472094410/?d=n
❌ไม่ชอบรสชาติอาหาร เพราะติดรสชาติหวาน ไม่ชอบของคาว ….ดังนั้นไม่ควรปรุงอาหารและให้เด็กกินของหวานก่อน 1 ปีนะคะ ตามอ่านรายละเอียดได้ลิงค์นี้ค่ะ https://www.facebook.com/334548503939610/posts/667790390615418/?d=n
❌ไม่เริ่มอาหารตามวัย…คือ อายุเกิน 6 เดือนแล้ว ยังไม่ได้ฝึกลูกกินอาหารที่เป็นเนื้อขึ้นมาเลย ไม่ได้ฝึก ลูกให้เคี้ยวหรือกลืน อาหารที่แข็งกว่า ‘นม’บ้างเลย จึง ….หมด ช่วง Golden period ของการฝึกกิน และ ทำให้ลูกมีปัญหา oral aversion คือ กลัวการกิน
…..บางบ้าน หลัง 9 เดือน ลูกควรกินอาหารหยาบๆ เป็นชิ้นๆได้แล้ว ยังบดละเอียดให้ลูกอยู่ เพราะ #กลัวติดคอ !!!! …ลูกเลยไม่มีโอกาสในการฝึกการเคี้ยวกลืน
…..รายละเอียดเรื่องอาหารตามวัย อ่านในนี้นะคะ https://www.facebook.com/334548503939610/posts/654906448570479/
❌ไม่เคยฝึกวินัยการกินที่ดี (เดินตามป้อนตลอด หรือ ต้องดูการ์ตูนไปกินไป มันใช่เหรอ)
👑ฝึกวินัยการกิน ที่ดี คือ
…..กำหนดเวลาอาหารชัดเจน เป็นเวลาเดิมๆ ทุกวัน และ ใช้เวลารับประทาน 30 นาที/มื้อ ถ้าไม่กิน เอาแต่เล่น ก็เก็บตามเวลา รอกินมื้อถัดไป
……ไม่เดินตามป้อน #นั่งกินให้เป็นที่ #รู้เวลากิน #แยกแยะเวลาเล่น ถ้าเด็กอยากเล่นอยู่ แต่ถึงเวลาอาหารแล้ว ควรบอกลูกว่า เป็นเวลากิน และพาลูกมานั่งเก้าอี้ทานข้าว …จร้า
……ไม่ใช้มือถือ/ทีวี/ของเล่น เป็นตัวหลอกให้ลูกรับประทาน
…….ให้อาหารตามวัย ปรัปอาหารละเอียด/หยาบ/ชิ้น/Finger foods ตามวัยลูก
……..รับประทานอาหารร่วมกันเสมอๆ ถ้าทำได้
เด็กจะได้รู้สึกว่า ใครๆเค้าก็ทำกัน
……. ให้โอกาสหรือสนับสนุนให้เด็กได้กินด้วยตนเอง เช่น วัย 8-9 เดือนขึ้นไป เด็กจะสามารถ หยิบจับของกินเข้าปากได้ …จงให้ลูกทำ ซึ่งต้องยอมรับว่า อาจมีหกเลอะเทอะบ้าง แต่เป็นการฝึกพัฒนาการลูกนะคะ จะได้ไม่กริ้วมาก 😅
…….เลิกนมม้ือดึกเมื่อลูกอายุ 6-9 เดือน
…….เมื่อลูกอายุ 9-12 เดือนควรฝึกลูกให้ดื่มน้ำ/
นมจากแก้ว หัดดูดหลอดเพื่อการเลิกใช้ขวดนมท่ีอายุ 1 ขวบ-1 ขวบครึ่ง
🥰เป็นกำลังใจ ให้คุณพ่อคุณแม่ ทุกคนนะคะ ฮึบๆ
👑นางแบบชื่อน้อง Daeny หลานหมอมะเหมี่ยวเองคร่า….คนนี้ กินง่ายมากค่ะ 💕💕
#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์