fbpx

ทำไงดี? ลูกชอบแย่งของคนอื่น ไม่รู้จักแบ่งปัน !
เวลาเราพาเด็กๆ ไปเล่นด้วยกัน อาจจะเจอปัญหาเด็ก #แย่งของเล่น #ไม่แบ่งกันเล่น
ทำไมลูกเราถึงเป็นแบบนี้ ?

สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ การแบ่งปันเป็น เห็นอกเห็นใน เอาใจเขามาใส่ใจเราได้ (คิดเชิงนามธรรมได้ ) เป็นเรื่องที่อาจจะยัง #ไม่สามารถทำได้ เพราะสมองเขายังไม่สามารถพัฒนาไปถึงขั้นนั้น แต่บางคนอาจจะทำได้เพราะแม่สั่ง หรือแม่ให้เงื่อนไขกับเขาเพื่อให้เขาแบ่งปัน
ดังนั้นเรา #ไม่ควรคาดหวัง ให้เด็กที่อายุน้อยกว่า 2-3 ปี ยอมแบ่งปันของ
เพราะวัยนี้ ยัง #เล่นด้วยกันไม่เป็น มักจะเล่นข้างๆ กันเฉยๆ มองกัน
แต่ไม่เล่นด้วยกัน #เขายังสนใจแต่ตัวเองและของๆตัวเอง และยัง #ไม่รู้จักคิดว่าเด็กคนอื่นจะคิดหรือรู้สึกยังไง
ช่วงวัยก่อน 6 ปี ถ้ามีดราม่าเกิดขึ้นกับลูกเราบ่อยๆ เรื่อง #หวงของ ก็เป็น เรื่องธรรมชาติค่ะ.
การที่คุณแม่คุณพ่อค่อยๆ สอน ค่อยๆ บอก ค่อยๆ ทำให้ดู เด็กที่เห็นแก่ตัวตอน 2 ขวบ ก็จะกลายเป็นเด็กใจดี รู้จักแบ่งปันเมื่อเขาอายุ 3 หรือ 4 ขวบได้ เพราะเด็กเริ่มเล่นกับคนอื่นเป็นและเล่นร่วมกัน ทำงานร่วมกันระหว่างที่เล่น ดังนั้นเด็กจึงเริ่มเห็นความสำคัญของการแบ่งปัน

ตามวัยของเด็กเล็กแล้ว เค้ามีสิทธิในของๆเค้า และเด็กมักจะหวงของมาก เรามาเรียนรู้วิธีฝึกลูกให้ ‘แบ่งของเล่นกับคนอื่น ‘ กันค่ะ
✅ #เตรียมลูกก่อนเจอสถานการณ์จริง เช่น เรากำลังจะไปสนามเด็กเล่น ที่นั่นมีเพื่อน/น้อง/พี่ หลายคนเลย ทุกคนอาจจะอยากมาเล่นกับลูก และ ขอยืมของลูกไปเล่นนะคะ
…ถ้า #เพื่อนขอเล่นของเล่นหนู ลูกให้เพื่อนยืมได้ ก็ให้เพื่อนยืมนะคะ เพื่อนเล่นเสร็จแล้ว เราก็จะเอาของกลับบ้านเหมือนเดิม (เด็กจะได้รู้ว่าของเค้าไม่ได้หายไปไหน)
…..หรือถ้า #ลูกอยากเล่นของเพื่อน : ลูกพูดขออนุญาตเพื่อนก่อนนะคะ ส่วนถ้าเพื่อนไม่ให้ก็ไม่เป็นไรนะคะ เพราะ เพื่อนอาจจะอยากเล่นอยู่ ถ้าอยากจะเล่นก็ต้อง #คอย ถ้าเพื่อนไม่ให้ก็ไม่เป็นไรนะคะ เพราะว่ามันเป็นของเพื่อน
(สอนลูกให้รู้จักสิทธิของตนเอง และ สิทธิของผู้อื่น และ รู้จักรอคอย)
……ถ้าเพื่อนแย่งของหนู แล้วลูกไม่อยากให้ พ่อแม่ #ไม่ควรบังคับ ให้ลูกให้ถ้าลูกไม่เต็มใจ เพราะ ว่า เด็กเค้ามีสิทธิในของชิ้นนั้น และเด็กมีสิทธิที่จะปฏิเสธได้
✅ในทุกพฤติกรรมที่อยากให้ลูกทำ
‘พ่อแม่ควรทำให้ดูเป็นตัวอย่าง’
ถ้าแม่แบ่ง ลูกก็แบ่ง เช่น เวลาที่มีใครมาขอแบ่งอะไร แม่ก็ชี้ให้ดู “แม่แบ่งอาหารแม่ให้พ่อด้วยนะ”
✅บอกลูกเรื่อง #กติกาในการเล่นกับ ผู้อื่น …ว่า
🙅ห้ามทำลายข้าวของ
🙅ห้ามทำร้ายคนอื่น
🙅ห้ามทำร้ายตนเอง
😁ถ้าเกิด เหตุการณ์พวกนี้ แล้ว แปลว่า หนูไม่พร้อมที่จะเล่นกับคนอื่น แม่ต้องพาลูกกลับนะคะ
..หลังจากนั้นก็ต้องปรัปพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นั้น ตามวัยและเทคนิคของแต่ละบ้าน เช่น Time out หรือ ignore รายละเอียดตามนี้ค่ะ https://www.facebook.com/334548503939610/posts/623649825029475/?d=n
✅หลังจาก ซ้อม สถานการณ์ที่บ้านแล้ว ก็ลุย สถานที่จริงได้เลยค่ะ
😅เมื่อวันจริงมาถึง ถ้า เกิดเหตุการณ์ ไม่พึงประสงค์ขึ้น ผู้ใหญ่ไม่ควรทำท่าทีต่อว่าลูก /ดุ ลูกต่อหน้าคนอื่น เพราะเด็กก็อายเป็นเหมือนกันจ้า ควรถามลูกซ้ำอีกรอบ ว่า อยากได้ของเล่นเพื่อนต้องทำไงดีจ้ะ ? …..ขอหรือเปล่าน้า? ….ให้สัญญาณบอกใบ้ลูกนิดนึง ว่าที่ตกลงกันว่าไงน้า
….เหมือนพักลูกให้ตั้งสติ นึกก่อน ….
🎉เมื่อลูกทำได้ >>>>รีบชมลูกทันที เช่น
#ถ้าลูกขอแบ่งของเล่นจากเพื่อน ให้แม่ชมลูก เช่น แม่ดีใจมากเลยที่หนูรู้จักเคารพสิทธิของเพื่อน ขอเพื่อนก่อนเล่น
#ถ้าลูกสามารถแบ่งของเล่นให้เพื่อนได้ ให้แม่ชมลูก เช่น แม่ภูมิใจมากเลยที่หนูมีน้ำใจแบ่งของให้เพื่อนเล่น
💕การชมลูก ควรชมที่ #พฤติกรรมที่ดีของลูกว่า เค้าทำอะไร เราถึงรู้สึก….(ภูมิใจ ปลื้มใจ ดีใจ) ไม่ใช่ว่า ทำอะไร ก็พูดแต่ว่าเก่งๆ ดีๆ (เด็กอาจจะเห็นภาพไม่ชัดค่ะ )
🤒พฤติกรรมที่ไม่ดีถ้าไม่ได้รับการตอบสนองหรือให้ความสนใจ พฤติกรรมนั้นจะค่อยๆจางหายไป
🥰พฤติกรรมดี ที่ได้รับความสนใจ และคำชม จะค่อยๆ เพิ่มให้เห็นเด่นชัด
👩‍⚕️ไม่ว่า จะเป็นวันไหนๆ เราก็รักลูกทุกวัน แต่ บางเรื่องก็ต้องฝึกกันเยอะ #รักมาก #วินัยก็ต้องมากด้วยนะคะ

#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์