fbpx

ก่อนยื่นจุกหลอก หรือ Pacifier ให้ลูก มาอ่านผลลัพธ์ ที่ลูกเราอาจได้แถมมากันนะคะ
1. เพิ่มอัตราการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง
2. ปัญหาเรื่องฟัน
3. รบกวนพัฒนาการด้านการพูด

#จุกหลอกกับความเสี่ยงในการการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง พบว่า ถ้าเราเอาจุกหลอกไปเพาะเชื้อแบคทีเรียจะขึ้นเชื้อได้ 50% และ ยิ่งเด็กดูดจุกหลอกยิ่งบ่อยมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงในการติดเชื้อยิ่งเพิ่มขึ้นคร่า

#จุกหลอกกับปัญหาเรื่องฟัน ทำให้ฟันผุ มีปัญหาในการสบฟัน มีปัญหาเรื่องเหงือก (มักพบในกรณีเด็กอายุมากกว่า 5 ปี และดูดจุกหลอกที่มีรสหวาน ) แต่ถ้าเทียบจุกหลอกกับนิ้วมือแล้ว จุกหลอกก็ดีกว่านะคะ

⭐️ประโยชน์ ก็มีบ้าง เช่น ลดการเจ็บปวดจากหัตถการบางอย่างเช่น เด็กโดนฉีดยา , ใช้ในเด็กที่นอนโรงพยาบาลแล้วให้เด็กๆดูดจุกหลอกเพื่อลดภาวะเครียด

🤔ถ้าจำเป็นต้องใช้จุกหลอก ควรเลือก จุกหลอกที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย ไร้สารเคมี และสารก่อมะเร็ง

ข้อมูลจาก งานวิจัย ใน Pediatric Child Health https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2791559/

#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว