ทำไมเรา ‘หัวนมแตก’
🔆ดูดนมผิดท่า– คุณแม่บางท่านอาจยังไม่ชำนาญในการให้นมลูกน้อย การจัดท่าให้นมที่ไม่เหมาะสม และทารกดูดหัวนมแม่ผิดวิธี คือปากของทารกอยู่ตื้น ขอบปากไม่ถึงลานนม ซึ่งนอกจากจะทำให้เด็กดื่มนมได้ไม่เต็มที่ ยังส่งผลให้หัวนมแตกได้
🔆ใช้อุปรณ์ปั๊มนม /เครื่องปั๊มนม ไม่ถูกวิธี เช่น การเร่งความเร็วในการปั้มนมมากเกินไป ใช้ความแรงมากเกินไป หรือใช้หัวปั๊มที่มีขนาดเล็กเกินไปจนทำให้หัวนมแตก
เรื่อง ปั๊มนม เป็น เรื่องละเอียดอ่อนมาก เครื่องที่เพื่อนว่าดีอาจไม่ได้ดีสำหรับเรา เพราะ ลักษณะเต้าและลักษณะหัวนมของคุณแม่แต่ละคนนั้นต่างกัน ดังนั้น ก่อนซื้องเครื่องปั๊มนม หรืออุปกรณ์เสริมใดๆ ควรลองของจริงก่อนนะคะ
🔆ผังผืดใต้ลิ้นของทารก ทำให้การเคลื่อนไหวของลิ้นถูกจำกัดเนื่องจากเนื้อเยื่อที่เชื่อมระหว่างลิ้นและพื้นล่างของปากมีขนาดสั้น หรือเกิดขึ้นล้ำมาทางด้านหน้าของปากมากเกินไป ทำให้เมื่อเด็กดูดนมแม่ลิ้นของทารกจะไม่สามารถขยับให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมได้ และทำให้เกิดเป็นแผลแตกที่หัวนมในที่สุด
🤔หัวนมแตก ต้องหยุดให้นมลูกมั้ย??
🔆’ไม่ต้องหยุดค่ะ ‘มีทางเลือกให้คุณแม่ ว่า จะให้ เข้าเต้าต่อ หรือ ใช้เครื่องปั๊มนม ปั๊มนมให้ลูกไปก่อน เช่น บางรายหัวนมแตกจนมีเลือดไหล น้ำนมอาจมีเลือดเจือปนด้วย ทำให้ทารกกลืนนมที่มีเลือดเจือปน ทำให้เลือดเจือปนในอุจจาระของเด็ก หรือในนมที่เด็กสำรอกออกมาได้ เด็กอาจจะได้รับนมไม่เพียงพอ แบบนี้ก็ควรใช้เครื่องปั๊มแทนการเข้าเต้าไปก่อน ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับมือกับปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาจะดีที่สุด
🤔ให้นมต่อได้ แล้ว อยากเข้าเต้า ต้องทำยังไง ?
🔆กรณีที่คุณแม่หัวนมแตกและไม่มีแผลลเปิด สามารถให้เข้าเต้าได้โดยเริ่มให้นมข้างที่ไม่แตกก่อนเพราะเมื่อทารกเริ่มดูดนมจะดูดแรง ถ้าให้ดูดข้างที่เจ็บก่อน จะยิ่งเป็นแผลมากขึ้น
🔆การเข้าเต้าสำหรับข้างที่หัวนมแตก แบบไม่มีแผลเปิดนั้น สามารถบรรเทาโดยการประคบเย็นเพื่อให้รู้สึกชาและทำให้อาการเจ็บเวลาให้นมบุตรลดลง
.
หากมีอาการปวด สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการได้ โดยควรรับประทานก่อนให้นมบุตรอย่างน้อย 30 นาที จะช่วยลดอาการปวดและบวมขณะให้นมบุตรได้
.
ลองเปลี่ยนท่าอุ้มให้ลูกดูดนม เช่น ท่าอุ้มฟุตบอล ท่านอน เมื่อเปลี่ยนท่า มุมที่เข้าเต้าจะเปลี่ยนไปทำให้ไม่ดูดทับแผลเก่าที่เป็นอยู่
.
ตอนถอนนมออกจากปากลูก ต้องทำให้ถูกวิธี คือ เมื่อให้นมเสร็จ ใช้นิ้วมือสอดเข้าที่มุมปากลูก ให้นิ้วอยู่ระหว่างเหงือกของลูก เพื่อลดแรงดูดของลูกลง จากนั้นจึงค่อย ๆ ถอนหัวนมออกมา
.
หลังจากนั้นให้บีบน้ำนม 2-3 หยดทาบริเวณหัวนม ทิ้งไว้ให้แห้งก่อนสวมเสื้อชั้นใน เนื่องจากในน้ำนมแม่มีสารต้านการอักเสบ จึงช่วยให้แผลหายเร็ว หรือผลิตภัณฑ์จากไขมันบริสุทธิ์ ทาบริเวณหัวนมทุกครั้งหลังจากให้นมบุตรเสร็จเพื่อช่วยบรรเทาอาการ และป้องกันแผลตกสะเก็ด
.
อาจจะใช้ประทุมแก้วครอบหัวนมชั่วคราว เพื่อป้องกันการระคายเคืองจากการสัมผัสกับเสื้อชั้นใน
🤔แล้วหัวนมแตกขนาดไหนต้อง ‘งดเข้าเต้า’
🔆กรณีที่หัวนมแตกจนมีแผลเปิดและต้องงดให้นมบุตรชั่วคราว และใช้ยาทาชนิดป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียทาหลังจากล้างทำความสะอาด จะช่วยให้หายได้เร็วขึ้น
🤔หัวนมแตก รักษาอย่างไร
🔆รักษา ตามสาเหตุ ข้างต้น เลยคร่า
เพราะ แต่ละคนจะหัวนมแตกจากสาเหตุ ต่างๆกัน
.
เข้าเต้าผิด>>>ก็จัดท่าให้ถูก
.
เครื่องปั๊มนมไม่เหมาะสม>>>ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งไม่ควรหาอ่านใน social เอาเอง
.
ลูกมีผังผืดใต้ลิ้น >>>แนะนำปรึกษากุมารแพทย์ อาจจะต้องขลิบผังผืดออก
🤔แล้ว ทำความสะอาดแผลที่หัวนม ยังไง?
🔆ใช้น้ำเกลือ เช็ดทำความสะอาด แล้วทาครีม หรือใช้น้ำนมทาหัวนมดังกล่าวข้างต้น
.
หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม และไม่ควรเช็ดหรือขัดบริเวณหัวนมแรง ๆ ห้ามใช้โลชั่น แอลกอฮอล์ หรือน้ำหอมใกล้บริเวณหัวนม เพราะอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้
.
ในกรณีที่ต้องปิดแผล ควรใช้ที่ปิดแผลที่ออกแบบเพื่อรักษาแผลบริเวณหัวนมโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้อาการเจ็บและแผลหายได้ในระยะเวลาอันสั้น
.
ควรทำความสะอาดบริเวณแผลให้สะอาด หลีกเลี่ยงการสัมผัสด้วยมือและรีบปิดแผลเพื่อป้องกันเชื้อเข้าไปในแผล อีกทั้งยังควรเปลี่ยนที่ปิดแผลบ่อย ๆ
🤔ทำหมดทุกอย่างแล้วไม่ดีขึ้น ทำยังไงดี?
🔆ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีที่จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถดื่มนมแม่ได้โดยไม่ส่งผลต่ออาการหัวนมแตกของคุณแม่ เนื่องจากหากปล่อยให้หัวแตก และแผลเปิดมากอาจส่งผลการติดเชื้อ เกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอาการเต้านมอักเสบได้
ปรึกษาเราได้ที่ โทร 0805424656
Id line : @bambinipattaya
หรือคลิ๊ก https://line.me/R/ti/p/%40bambinipattaya